สถิติ
เปิดเมื่อ31/10/2012
อัพเดท4/12/2012
ผู้เข้าชม24172
แสดงหน้า27391
ปฎิทิน
December 2023
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
     
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
      




บทความ

มรดกทางวัฒนธรรมเมืองน่าน

 

 

               มรดกวัฒนธรรมของเมืองน่าน

 


                       เมืองน่านเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมประเพณีดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองน่านที่สืบทอดมายาวน่านตามกาลเวลาจากบรรพบุรุษ สมัย เจ้าหลวงภูคา  (วรนครปัว)    ถึง นันทบุรีศรีนครน่าน  ส่วนมากวัฒนธรรมประเพณีดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองน่านจะมีความเกี่ยวเนื่องกับ พระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ และโหราศาสตร์ มาแต่อดีต เพราะล้านนาส่วนมากในอดีตมีความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนามาก   วัฒนธรรม ประเพณี ดนตรี หรือพิธีกรรมต่างๆ มีความงดงามอ่อนช้อย  และเรียบง่าย ทั้งนั้นยังมีความคล้ายครีงกับ จังหวัดต่างๆ ในล้านนาของไทย เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ฯ 




               มรดกวัฒนธรรมทางภาษาของเมืองน่าน

 

                      ภาษาพูด จากภูมิปัญญาอันสูงส่งของบรรพบุรุษอย่างหลากหลายและทรงคุณค่าได้กลายเป็นขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคนจังหวัดน่านมาตราบถึงทุกวันนี้  คนน่านจะพูด  ภาษาก๋ำเมืองหรือ (อู้เมือง) ถึงบางครั้งอาจขัดต่อความหมายของภาษาทางภาคกลางหรือในภาคเดียวกันที่อยู่ในเขตล้านนาไปบ้าง


                     ภาษาเขียน  คนเมืองน่านมีภาษาพูดแล้วยังมีภาษาเขียน เพื่อเขียนให้เป็นสื่อแทนภาษาพูด ได้แก่ 
อักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมือง เป็นอักษรที่สำคัญ และแพร่หลายในล้านนามาก การกำเนิดอักษรธรรมล้านนาก็คล้ายกับการกำเนิดอักษรทั้งหลาย คือ ปรับปรุงจากอักษรที่มีอยู่เป็นระบบมาแล้ว คือ อักษรมอญ หลักฐานเกี่ยวกับการกำเนิดอักษรธรรมล้านนาไม่ปรากฎ หลักฐานอักษรธรรมล้านนาเก่าที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบัน คือ จารึกลานทอง พบที่สุโขทัยจารึกได้ระบุศักราชไว้ตรงกับ พ.ศ. ๑๙๑๙ อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบหลักฐานว่า อักษรธรรมล้านนาเกิดขึ้นในสมัยใด เพราะอักษรธรรมล้านนามีกำเนิดจากพัฒนาการของภาษาคือ ค่อยๆเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจึงอาศัยเวลานาน การกำเนิดอักษรธรรมล้านนา มีสาเหตุสำคัญมากจาความจำเป็นทางศาสนาเพื่อเขียนพระธรรมคำภีร์ให้เป็นสื่อ แก่คนในวงกว้าง อักษรธรรมล้านนาจึงเริ่มต้นจากการใช้เขียนภาษาบาลีเป็นหลัก ต่อมาดัดแปลงเพื่อใช้เขียนภาษาเมืองด้วยอักษรธรรมล้านนา หรือ ตั๋วเมือง มักใช้จารบนคัมภีร์ใบลาน พับสา เอกสารโบราณ โดยเฉพาะเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับศาสนา เช่น ตำราภาษาบาลี ชาดก เรื่องราวการกัลปนาสิ่งของแก่วัด นอกจากนั้นยังใช้บันทึกเอกสารต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา ตำราโหราศาสตร์ ตำราแพทย์ บทกวีนิพนธ์ และคร่าวซอการใช้อักษรธรรมล้านนามักจะขาดช่วงหรือชะงักไปบ้างตามความผันผวนของเหตุการณ์บ้านเมืองแต่ก็ยังสามารถสืบทอดกันตลอดมาได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เมื่อมีการประกาศใช้รัฐนิยม ฉบับที่ ๓ ว่าด้วย ภาษาและหนังสือกับหน้าที่พลเมือง ห้ามการเรียนการสอนอักษรท้องถิ่น การใช้อักษรธรรมล้านนาจึงหยุดชะงักไปเป็นเวลานาน ประกอบกับความแพร่หลายในการใช้อักษรไทยปัจจุบันของสื่อมวลชนทุกแขนง การใช้อักษรธรรมล้านนาจึงเสื่อมลงตามลำดับ

 





 

             มรดกวัฒนธรรมทางพิธีกรรมความเชื่่อของคนเมืองน่าน

 

                          ชาวน่านมีความเชื่อมั้นเหมือนกับชาวล้านนาทั่วไป 'ในจักรวาลนี้มีโลกมีโลกหนึ่งเรียกว่าโลกราหู'  และเชื่อในหลังอยู่ ๓ ประการ คือ

- ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
- ความเชื่อทางไสยศาสตร์
- ความเชื่อทางโหราศาสตร์

 

                         ในความเชื่อทางพุทธศาสนาขอ งชาวน่านซึ่งมีพื้นฐานมาจาการนับถือผี หรือ ไสยศาสตร์อีกทั้งได้รับอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์ จึงมีพิธีกรรมทางศาสนาประสมประสานกันอย่างแยกไม่ออก โดยมีความเชื่อหลัก ดังนี้

- กฎแห่งกรรม ตามหลักพุทธธรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
- เชื่อในความไม่เที่ยง ตามหลักธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

- เชื่อว่าชาติหน้ามีจริง
- เชื่อในอานิสงส์ผลบุญ การให้ทานทำบุญเวทมนต์  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ นรก สวรรค์

 

                          คนน่านเชื่อในเรื่องเวทมนต์คาสูงมากในอดีตและประจุบัน  การสืบทอดเวทมนต์คาถาได้หายไปจากชีวิตประจุบันแล้ว แต่คงเหลืออยู่อค่จารึกใน ปั๊บสา ของเชื่อสายผู้ประกอบพิธีทางศาสนา  และ พระสงฆ์บางส่วนเท่านั้นปาฏิหาริย์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยังคงมีให้เห็นสืบจนถึงปัจจุบันนี้  มีการทำพิธีโดยการอัญเชิญเทวดาอารักษ์ตลอด จนวินญาณเจ้าผู้ครองนครน่าน ได้มีปรากฏการณ์อันเป็นนิมิตหลายประการเกิดขึ้น
 



 

 

             มรดกวัฒนธรรมทางเทศกาลประเพณีของเมืองน่าน  

                     
                   ประเพณีหกเป็งนมัสการองค์พระธาตุแช่แห้ง
 (ไหว้สาพระธาตุแช่แห้ง) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่อดีต ในช่วงฤดูเทศกาลเพ็ญเดือนหก (เหนือ) เจ้าผู้ครองนครน่านพร้อมด้วยข้อราชบริพารจะพากันไป นมัสการองค์พระธาตุแช่แห้ง โดยในวันขึ้นสิบสี่ค่ำเดือนหก ขบวนแห่ของเจ้าเมืองน่านพร้อมด้วยคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนจากชุมชนต่างๆ จะมาพร้อมกันที่บริเวณรอบๆ เนินภูเพียงแช่แห้ง จะมีพิธีทางศาสนาและกิจกรรมเฉลิมฉลอง เพื่อเป็นพุทธบูชา โดยมีการทำบุญตักบาตร เทศมหาชาติ บรรยายธรรม และมีการจุดบ๊อกไฟดอก (บั้งไฟ) ซึ่งมีลักษณะเป็นไฟพะเนียงพื้นบ้าน มีความสวยงามในยามราตรี เมื่อถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนหก ขบวนพุทธศาสนิกชนจะทำครัวตาย (เครื่องไทยธรรม) ในช่วงบ่ายจะมีการถวายเป็นพระพุทธบูชา โดยการจุดบ๊อกไฟดอก (บั้งไฟ) ขึ้น และมีการแสดงพระธรรมเทศนา เทศน์มหาชาติสืบเนื่องต่อจากวันขึ้นสิบสี่ค่ำ  (นอกจกนี้ยังมีการทำบุญนมัสการพระธาตุ และ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในเมืองน่านเกือบทุก อำเภอ ตามที่กำหนดมาแต่โบราณ ตั้งแต่เดือน ๕ ไปจนถึงเดือน ๙ เหนือ)

                           

                        ประเพณีถวายทานข้าวใหม่  วันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ หรือเรียกว่าเดือน 4 เป็งเป็นประเพณีทานข้าวใหม่ และตานข้าวจี่ ข้าวหลาม ชาวลานนาไทยได้ถือเป็นประเพณีทาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ตอนที่จะมีข้าวใหม่มาทนนั้น จะขอเล่าความเป็นมาถึงการมีข้าวใหม่มาทานเสียก่อน คือ เราจะต้องทำไร่ทำนาข้าวก่อนจึงจะมีข้าวใหม่ทานได้ การทำนาได้ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ลือพ่ออุ้ยพ่อหม่อน ปู่ลุง อาวอา สืบสานกันมาถึงลูกถึกหลาน เหลน ล้วนแต่มีการทำไร่ทำนากันทุกบ้านเรือน จะมีมากมีน้อยก็ตามฐานะของตน ผู้ไม่มีนาก็ได้เป็นเช่านาเขาทำบ้าง ไปรับจ้างเขาทำก็มีมาก เพื่อได้มาให้เพียงพอแก่ครอบครัว ถือเป็นอาชีพของคนลานนา ส่วนอาชีพอื่นเป็นอาชีพเสริม

                    การทำนาสมัยก่อนต้องใช้แรงวัวแรงควาย ชักลากเฝือไถต้องเตรียมเครืองใช้ มีไถเฝือ แอกควาย แอกน้อย เชือกต่อสำหรับผูกแอก ผูกไถ เมื่อเดือน 8-9-10 มาเถิง ฝนเริ่มตกลงมา ชาวนาก็จะตกกล้า หรือหว่านกล้า เริ่มเอาน้ำเข้าตกกล้าก่อน แล้วนะเอาข้าวเชื้อ (พันธุ์ข้าว) ประมาณกี่ต๋าง (กี่เปี่ยด) แล้วแต่นามีมากน้อยเท่าไรแล้วนำข้าวลงแช่น้ำ 3 คืน แล้วเอาออกอุก (อม) เจ้าของจะไถนาทำแปลงหว่านกล้าเมื่อแช่ 3 คืน แล้วเอาออกใส่ถุงใส่ทอทับด้วยใบตอง แล้วอบไว้ 2 คืน เรียกข้าวน้ำ 3 บก 2 ก็จะแตกงอกจึงนำไปหว่านในแปลงนาที่จัดไว้ หว่านกล้าแล้ว เจ้าของนาก็จะไถนารอกล้า ถ้าน้ำอำนวยให้ จะหมักไว้จนขี้ไถยุบตัวลงหญ้าต่าง ๆ จะเน่ากลายเป็นปุ๋ยไปในตัว แล้วก็เริ่มเผือกกลับไปกลับมาให้เรียบ ก็ลงมือปลูกข้าวต่อจากนั้นก็ค่อยดูแลหญ้าและศัตรูพืชในขณะปลูกข้าวจะเอามือเอาวันกัน ช่วยเหลือกันและกันไม่ต้องจ้าง มีแต่หาข้าวปลาอาหารไปเลี้ยงกันสามารถปลูกได้อย่างรวดเร็ว ไม่นิยมจ้างกันเช่นทุกวันนี้ เมื่อย่างเข้าเดือนกันยายน-ตุลาคม ข้าวจะตั้งก่องอกงามเรียกว่า สร้างต้นสร้างก๋อ พฤศจิกายน ข้าวก็ตั้งท้องออกรวง ธันวาคม ข้าวก็จะเหลืองอร่ามเต็มทุ่งนา ปลายเดือนก็เริ่มเก็บเกี่ยว แล้วมัดบ้างเป็นฟ่อนบ้าง แล้วรวมกันนวดฟากกับรางเรียกว่า (ฮางตี๋ข้าว) กว้างขนาด 1 เมตร ยาวประมาณ 4 เมตร ช่วยกันตีสนุกสนาน ส่วนมากมักตีกันตอนเย็นและเข้าคืน เพราะอากาศมันเย็นทำงานได้มาก แสงสว่างก็อยู่ใต้แสงเดือน และใช้เฟื่องจุดไฟแจ้งสว่างพอดีข้าวได้เสร็จแล้วก็ขนข้าวไปเก็บในยุ้งฉ่าง (หล่องข้าวหรือถุข้าว)

                   เมื่อเก็บเรียบร้อยแล้วก็ทำขวัญข้าว มื้อจันวันดีไล่ตามปักตืน วันผีกินวันคนกินทั้งข้างขึ้น และข้างแรม เมื่อได้วันดีแล้วก็เริ่มกินข้าวใหม่ ส่วนหนึ่งนำไปทำบุญแด่พระสงฆ์ สามเณร อุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดาและพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วนั้น


                   
ประเพณีแข่งเรือ  การแข่งเรือประเพณีจังหวัดน่าน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่บรรพบุรุษชาวน่านได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน แม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านตัวเมืองไปยังที่ต่างๆ เรือจึงเป็นพาหนะที่ชาวน่านและเจ้าผู้ครองนครใช้ในการเดินทางไปมาหาสู่กัน  และเชื่อมสัมพันธไมตรีกับหัวเมืองต่างๆ เริ่มปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์เมืองน่าน เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๒ พระยาการเมือง เจ้าเมืองวรนคร (เมืองปัว) ได้ใช้เรืออพยพขนย้ายผู้คนล่องมาตามลำน้ำน่าน เพื่อสร้างเมืองใหม่ที่เมืองภูเพียงแช่แห้ง ( บริเวณวัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง ในปัจจุบัน)

 

          ชาวเมืองน่านมีความผูกพันกับ “พญานาค” โดยมีความเชื่อว่าพญานาคจะปกป้องคุ้มครองโบราณสถาน วัดวาอาราม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะ จึงขุดเรือยาวและตกแต่งหัวเรือและหางเรือตลอดจนลำเรือให้มีลักษณะคล้ายพญานาค ปีไหนมีภาวะฝนแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลบรรพบุรุษชาวน่านก็จะนำเรือแข่งไปพายแข่งกัน ซึ่งเปรียบเสมือนกับพญานาคกำลังเล่นน้ำเพื่อขอฝนและก็เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เพราะว่าหลังจากนั้นฝนก็ตกลงมาจริงๆ

          การแข่งเรือเมืองน่านเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไร ไม่ปรากฏหลักฐานบอกไว้ มีแต่คำบอกเล่าสืบต่อกันมา และร่องรอยจากซากเรือแข่งเก่าแก่ที่ชำรุด แต่ก็มีเรือบางลำอายุร่วม ๒๐๐ ปี ยังมีสภาพดีสามารถนำลงแข่งขันได้ เช่น เรือเสือเฒ่าท่าล้อ บ้านท่าล้อ อำเภอภูเพียง ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๙, เรือเสือเฒ่าบุญเรือง บ้านบุญเรือง อำเภอเวียงสา ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๐ และ เรือคำแดงเทวี ( นางดู่งาม ) บ้านนาเตา อำเภอท่าวังผา ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๐ จึึงเป็นข้อมูลเชื่อได้ว่าเรือแข่งเมืองน่านเกิดมาพร้อมกับความเป็นเมืองน่าน ผู้คนที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำน่าน สารธารแห่งชีวิตและจิตวิญญาณของชาวเมืองน่าน

         มีเรื่องเล่าเป็นตำนานสืบทอดกันมาเกี่ยวกับการสร้างเรือแข่งต้นแบบของเมืองน่าน คือ เรือท้ายหล้า – ตาตอง ท้ายหล้า หมายถึง เรือที่ท้ายเรือที่ยังทำไม่เสร็จ ตาตอง หมายถึง เรือที่มีตาทำด้วยทองเหลืองหรืออีกความหมายหนึ่ง คือมีตาของไม้มีนำมาขุดเรือเป็นสีทองเหลือง

 

         จากเอกสารอ้างอิงประวัติศาสตร์ที่ได้กล่าวถึง “นครน่าน” ซึ่งเป็นเมืองนครรัฐที่เมืองต่างๆเข้ามาสวามิภักดิ์ถึง ๕๗ เมือง โดยมีเจ้าผู้ครองนครสืบราชวงศ์ติดต่อกันถึง ๖๔ พระองค์ นับตั้งแต่ราชวงศ์ภูคาเป็นปฐมสัติวงศ์จึงถึงราชวงศ์เติ๋นมหาวงศ์ ต้นตระกูล ณ น่าน เป็นราชวงศ์สุดท้าย ผู้ครองนครน่านเป็นราชวงศ์สุดท้ายไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัดว่าเจ้าผู้ครองนครน่านเป็นพระองค์ใด มีรับสั่งให้บรรดาเสนาอามาตย์ทหารข้าราชบริพารไปตัดต้นตะเคียนที่ป่าขุนสมุน ( ป่าต้นน้ำที่อยู่ห่างจากอำเภอเมืองน่านในปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๓๐ กม. ) ซึ่งเป็นต้นไม้ตะเคียนที่มีขนาดใหญ่มาก ใหญ่ขนาดที่ว่าตอไม้ที่เหลือกว้างจนสามารถนำขันโตก ( ที่ใส่สำรับอาหารของคนเหนือ ) มาตั้งได้ถึง ๑๐๐ โตก แล้วให้ทหารลากอมาที่ริมแม่น้ำน่านรอยลากทำให้เกิดแม่แม่น้ำสมุน ( แม่น้ำสาขาของแม่น้ำน่าน ) และให้น้ำไม้ตะเคียนมาขุดตกแต่งเป็นเรือแข่งเมืองน่าน ๒ ลำตั้งชื่อว่า “เรือท้ายหล้า-ตาตอง” เพื่อให้คนเมืองน่านได้ใช้เป็นรูปแบบในการขุดเรือเพื่อใช้ในการแข่งขันเรือให้เป็นประเพณีเพื่อบ่มเพาะความรัก ความสามัคคี เสริมสร้างจิตใจให้มั่นคง รู้แพ้ รูชนะ รู้อภัย ให้กับลูกหลานเมืองน่าน ตราบจนถึงปัจจุบัน

         การแข่งเรือประเพณีเมืองน่านในสมัยก่อน จะดัดการแข่งขันในงานประเพณี ถวายทานสลากภัต หรือชาวน่านเรียกว่า “ตานก๋วยสลาก” ถ้าวัดของชุมชน-หมู่บ้านใดที่มีเรือแข่งมีการจัดงานประเพณี ตานก๋วยสลาก คณะศรัทธาหมู่บ้าน-ชุมชนต่างๆ ที่มีเรือแข่ง ก็จะนำเรือแข่งบรรทุกก๋วยสลากพร้อมชาวบ้านและพระภิกษุ สามเณร ที่รับกิจนิมนต์เดินทางไปยังวัดที่มีงานประเพณีตานก๋วยสลาก เนื่องจากการคมนาคมในสมัยนั้นยังไม่สะดวกสบายเหมือนปัจจุบันอีกทั้งชุมชนหมู่บ้านก็ตั้งไม่ห่างไกลกันมาก และมักจะตั้งชุมชน-หมู่บ้านอยู่ติดกับลำน้ำน่านในขณะที่พายเรือไปก็จะตีฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ ปาน และ เป่าแน เป็นทำนองเพลงล่องน่าน และผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะลุกขึ้นฟ้อนซึ่งเป็นที่มาของท่าฟ้อน “ล่องน่าน” ที่มีเอกลักษณ์รูปแบบการฟ้อนเฉพาะตัว เมื่อเสร็จพิธีในช่วงบ่ายก็จะนำเรือแข่งมาแข่งกันอย่างสนุกสนาน รางวัลที่ได้ก็จะเป็นเหล้าขาวใส่กระบอกไม้ไผ่ ระยะหลังก็จะเปลี่ยนเป็นตะเกียงเจ้าพายุและน้ำมันก๊าด เพื่อนำไปจุดให้แสงสว่างในชุมชน-หมู่บ้านเนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ รวมถึงธงปักหัวเรือและเริ่มวิวัฒนาการเป็นถ้วยรางวัลในปัจจุบัน

        การแข่งเรือประเพณีจังหวัดน่าน ปรากฏหลักฐานอ้างอิงได้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๖๐ เมื่อครั้งกรมสมเด็จเจ้าฟ้าพระนครสวรรค์วรพินิจฯ เสด็จตรวจราชการเมืองน่าน เจ้าผู้ครองนครน่านพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้านายฝ่ายเหนือและข้าราชการประจำเมือง ได้จัดให้มีการแข่งเรือประเพณีให้ทอดพระเนตร เจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอุปราช พร้อมด้วยเจ้านายฝ่ายเหนือได้ลงไปฟ้อนในเรือลำที่ชนะเลิศด้วย



                    ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงรุ่นคุณปู่-ย่า/ตา-ยาย/พ่อ-แม่ และลูกหลานในปัจจุบัน เรื่องมีอยู่ว่ามีนางยักษิณีตนหนึ่งมักจะเบียดเบียน ผู้คนอยู่เสมอครั้นได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว นางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธานิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารีแก่คนทั่วไปจนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งในมิตรไมตรีของนางยักษิณีตนนั้น ถึงกับนำสิ่งของมาแบ่งปันให้ แต่เนื่องจากสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมาก นางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นมาทำเป็นสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์/สามเณร จับสลากด้วยหลักอุปโลกนกรรม คือสิ่งของที่ถวาย มีทั้งของของมีราคามากและมีราคาน้อยแตกต่างกันไปตามแต่โชคของผู้ได้รับ การถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตในพุทธศาสนา

[ตานก๋วยสลาก/ตานสลาก/ กิ๋นข้าวสลาก/กิ๋นก๋วยสลากหรือกิ๋นสลาก] ล้วนแล้วแต่เป็นภาษาของชาวถิ่นล้านนาที่มักมีการเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ความหมายนั้นเหมือนกันโดยหลักการอาจจะแตกต่างกันไปบ้างในเรื่องของรายละเอียดถ้าเป็นภาษาไทยกลางเรียกว่า 'สลากภัต' ประเพณี 'ตานก๋วยสลาก' หรือ 'สลากภัต' 
ของชาวล้านนานิยมปฏิบัติกันตั้งแต่เดือน ๑๒ เหนือถึงเดือนยี่เหนือหรือตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปีสาเหตุที่ถือปฏิบัติกันเช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นช่วงที่ชาวบ้านได้ทำนากันเสร็จแล้ว หยุดพักผ่อน พระสงฆ์ก็จำพรรษาอยู่วัดไม่ได้ไปไหนและบวกกับในช่วงเวลานี้ก็มีผลไม้สุก เช่น ลำไย มะไฟ สมโอเป็นต้นเมื่อต้นข้าวในนาเริ่มเขียวขจีชาวนาที่มีฐานะไม่ค่อยดีการดำรงชีวิตก็เริ่มขัดสนเมื่อข้าวในยุ้งก็หมดก่อนฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะมาถึง ดังนั้นการตานก๋วยสลากในช่วงนี้จึงเท่ากับว่าได้สงเคราะห์คนยากคนจนเป็นสังฆทานได้กุศลแรง 

ก่อนจะถึงวันตานก๋วยสลาก 1 วันเขาเรียก 'วันดา' หรือ 'วันสุกดิบ'วันนี้จะเป็นวันที่ชาวบ้านได้จัดเตรียมข้าวของไม่ว่าจะเป็นของกินหรือของใช้ต่างๆ สำหรับที่จะนำมาจัดดาใส่ก๋วยสลากและวันนี้มักจะมีญาติสนิทมิตรสหายที่อยู่ต่างบ้านมาร่วมจัดดาสลากด้วย ซึ่งถือเป็นประเพณีที่จะได้ทำบุญร่วมกันผู้ชายจะเป็นคนสานก๋วยสลาก (ตะกร้า) สำหรับที่จะบรรจุใส่ของกินของใช้ต่างๆก๋วยจะกรุด้วยใบตอง/หรือตองจี๋กุ๊กเมื่อรวบปากก๋วยมัดเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะมีไม้ไผ่เหลาเป็นก้านเล็กๆ สำหรับเสียบสตางค์/กล่องไม้ขีดไฟ/บุหรี่ เพื่อทำเป็นยอดก๋วยสลากจะมากน้อยบ้างตามแก่กำลังศรัทธาและฐานะ


 



              


              มรดกวัฒนธรรมประเพณีทางดนตรีพื้นบ้านของเมืองน่าน

 

                     
                     สะล้อ_ซอ_ซึง_ดนตรีพื้นบ้านเมืองน่าน ชาวเมืองน่านมีการละเล่นพื้นบ้านล้านนาที่ยังคงรักษาสืบทอดไว้ได้อย่างดี คือ ซอ หรือเรียกรวมกับเครื่องคนตรีเล่นประกอบเป็นคำคล้องจองจันว่า 'สะล้อ  ซอ  ซึ่ง'

                    ซอ เป็นการขับลำนำ มีผู้ขับเรียกว่าช่างซอ  ขับร้องโต้ตอบกันระหว่างชายหญิงแบบปฏิภาณกวีโดยมีผู้เล่นดนตรีเป็นทำนองประกอบสองชนิด คือ สะล้อ และซึง เพียงสองชนิด
        ทำนองเพลงที่ใช้ขับซอของชาวน่านมีลักษณะโดดเด่นจำเพาะท้องถิ่นเรียกว่า'ซอล่องน่าน' ซึ่งมีที่มาในตำนานครั้งพระยาการเมืองอพยพพาชาวเมืองล่องมาตามลำน้ำน่านเพื่อมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านห้วยไค้ภูเวียงแช่แห้ง ระหว่างทางปู่คำมา และย่าคำบี้ขับซอชมความงามทิวทัศน์สองข้างทางโต้ตอบกัน

       ทำนองขับซอของเมืองน่านมี 14 ระบำ การซอแต่ละครั้งจะเริ่มด้วยระบำล่องน่านก่อนเสมอ ตามด้วยระบำเมืองน่านทุกทำนองแล้วจึงขึ้นระบำเมืองอื่น ชาวเมืองน่านวันนี้ยังมีการละเล่นพื้นบ้าน 'ซอ' ในงานต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานปอยหรืองานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ งานปีใหม่ และงานทำบุญร้อยวัน 

                        
สล้อเมืองน่าน  สะลอ เปนเครื่องดนตรีที่ใชประกอบการขับซอนาน มี๒ แบบ คือ สะลอแบบกลมและสะลอแบบมีลูกนับ หรือเรียกวาสะลอกอบ รูปรางลักษณะเครื่องดนตรีสะลอแบบกลม ทําดวยไมกลึงใหกลม  กลองเสียงทําดวยกะโหลกมะพราว มีคันชักเรียกวา สายกง คันทวนเรียกวา ดามจับ ลูกบิด เรียกวา หลักผัน      


                        
ซึง หรือ ปินเมืองน่าน  ปน  เปนเครื่องดนตรีประเภทดีดทําจากไมเนื้อแข็งประเภทไมสัก ไมประดูหรือไมขนุน มีความยาวประมาณ ๘๐  เซนติเมตร กวาง ประมาณ ๒๐ เซนติเมตร  หนาประมาณ ๗ เซนติเมตร ปนเมืองนานมีรูปทรงคลายกับผลมะละกอ มีสาย ๔ สาย ตั้งสาย ๒ สายคูเทียบเสียงเทากัน  วัสดุที่ใชดีด คือเขาสัตวเหลาบางๆ หรือทําจากพลาสติก เรียกวาไมเขี่ย  (ทางเชียงใหม่เชียงรายเีรียกซึง เมืองน่านจะเรียกปิน)  


                        ซอเมืองน่าน  ซอลองนาน เปนชื่อเรียกตามวิถีการดําเนินชี วิตการขับซอจึงมีหลายทวงทํานอง เชน บทเกริ่นนําเรียกวา ซอละมายเชียงแสน มักขับซอ ดวยคําวา แสงแมงวางแมงใย มันจับอยูบนกิ่งไมตาย....ขาน.....แลวตอดวยบทไหวครูบาอาจารย  ประมาณ ๔–๕ บท ตอจากนั้นจึงเปนซอทํานองดาดนาน ถือเปนทํานองหลัก มีการพรรณนาเปนเรื่องราว เกี่ยวกับงานบวชนาค งานขึ้นบานใหม งานกฐิน ผาปา เปนตน  ชางซอสามารถขับทํานองซอดาดนานเปนเวลานานๆ ตั้งแตตอนเชา จนถึงตอนเย็น  หรือใกลพลบ เรื่องราวกลาวตั้งแตการเชื้อเชิญผูรวมงาน บอกจุดประสงคของการจัดงาน บอกคณะเจาภาพ อานิสงสของการทําบุญตางๆ และลงทายดวยทํานองซอลับแลง  ทํานองซอลับแลงนี้มีทวงทํานองที่ชา  เนื้อหามุงขอบคุณเจาภาพ อวยพรใหแขกผูรวมงาน เมื่อใกลจบการขับซอ ชางซอชายหญิงจะฟอนแงน ซึ่งเปนลักษณะการฟอนแอนตัวไปดานหลังคลายสะพานโค ง  ศิลปนบางคณะอาจขับจอยประกอบเสียงปนและสะลอคลอไปดวยความอาลัยอาวรณทํานองซอนานที่เปนทํานองหลักประกอบดวย ซอละมายเชียงแสน ซอดาดนาน ซอลับแลง สําหรับซอทํานองอื่น ๆ
   เชน ซอพมาตะโตงเตง ซอพมา(เรื่องเจาสุวัฒนกับนางบัวคํา) ซอปนฝาย ซอพระลอ  ซอเงี้ยว(ซอเสเลเมา) ซออื่อ(ซอตํารายา)  ฯลฯ นอกจากทํานองซอที่ใชประกอบการขับซอแลวยังมีเพลงบรรเลงที่ ใชประกอบการฟอนแงน เชน เพลงแมหมายกอม แมหมายเครือ เพลงลาวเสด็จ กลอมนางนอน  เขมรปากทอ ตีนตุม  ตีนแหบฯลฯฉันทลักษณสําหรับคําซอนั้นมีความแตกตางกันไปตามแตละทํานอง  ยกเวนทํานองซอดาดนานและทํานองซอลับแลงที่สามารถใชเนื้อซอบทเดียวแลวเปลี่ยนสําเนียงเสียงซอใหชาลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนจากทํานองซอดาดเปนซอลับแลง


                          ศิลปินที่มีชื่อเสียงของศิลปะการขับซอเมืองน่าน
 

            ๑. นายไชยลังกา เครือเสน(พ.ศ.2534) (ศิลปินแห่งชาติ) สาขาการแ ส ด ง พื้ น บ้า น ขับ ซ อ ปี๒ ๕ ๓ ๐ มีความสามารถด้านการขับซอ เล่นเครื่องดนตรีสะล้อและปิน ผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านและถ่ายทอดศิลปะการขับซอ ให้นายคำผาย นุปิง นายอรุณ ดวงมูลและศิลปินอื่นๆ อีกหลายคน
           

          ๒. นายคำผาย นุปิง (ปัจจุบัน)(ศิลปินแห่งชาติ) สาขาการแสดงพื้นบ้านขับซอ ปี 2538 เป็นชาวบ้าน บ้านหัวนากิ่งอำเภอภูเพียง มีผลงานด้านการขับซอที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองคือเสียงที่สดใส
        ป่อครูคำ ผาย นุปิง นำ เนื้อหาที่เ ป็น เ รื่องราวทางพระพุทธศาสนาพิธีกรรมและประเพณีการบวชนาค ขึ้นบ้านใหม่ และงานบุญอื่นๆ มาเป็นบทซอดังนั้สาระของบทซอจึงของแฝงไปด้วยคติธรรม คติสอนใจ นิทานพื้นบ้าน การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์บ้านเมือง วิถีการดำเนินชีวิต การสืบทอดการขับซอของนายคำ ผาย นุปิงมาจากนายไชยลังกาเครือเสน มีประเพณีที่ใช้ในวงการศิลปะชนิดนี้ เช่น การรับศิษย์ การขึ้นครู การกินอ้อ การถ่ายทอดวิธีการซอ การเล่นเครื่องดนตรีที่ดำนินต่อเนื่องกันมาบทซอที่ของคณะคำผาย นุปิงได้กล่าวถึงเหตุการณ์เรื่องราวขอซอล่องน่านเป็นการเคลื่อนย้ายเมืองน่านมาตามลำน่านน่าน จึงเรียกทำนองซอลักษณะต่างๆว่า “ซอล่องน่าน” ทั้งยังได้พัฒนาการและนำมาใช้ในงานอุปสมบท เรียกว่างานบวชนาค บทซอจะเริ่มซอตั้งแต่การเกริ่นนำและไหว้ด้วยเสียงดนตรีท่วงทำนอง ละม้ายเชียงแสน แล้วจึงเริ่มซอตามเนื้อเรื่องเริ่มตั้งแต่การแนะนำเจ้าภาพ จุดประสงค์ของการจัดงาน เครื่องอัฐบริขาร อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องงานบวช อานิสงส์ ของการทำบุญกล่าวนามผู้ล่วงลับเพื่อต้องการอุทิศส่วนบุญกุศลไปช่วยดวงวิญญาณบรรพชนได้สู่สุขคติในสรวงสวรรค์ตัวอย่าง...  เช่น ซอบวชนาค ....

 

(คำผาย) .....

               โสม...ขะนิง ยามน้ำแม่ปิง        วัง ยม น่าน นองใส....         
ยามเมื่อลมปัดเสย เจยใบ                             แม่น้ำมันก็ไหลลงไปบ่ยั้ง
    ชีวิตสังขารคนเฮาเหมือนอั้น                        เหมือนแม่น้ำคงคา                
   บ่อมีวันแล้วมันจะกลับคืนมา                 ชีวิตชีวาเหมือนคงคาแม่น้ำ


ฯลฯ

เนื้อหาหลัก
 

(ช่างซอชาย).....

               ว่าพระนาคเจ้าก็ตั้งอกตั้งใจ              เพราะเหตุอันใด มาบวชนอเจ้า
จะตอบคุณป้อคุณแม่นั้นเล่า                         ค่าน้ำนมเต้าสองแขนมารดา
รูนมเบื้องซ้ายมีห้ารูนม                  รูนมเบื้องขวามีเจ็ดรู
เอามาบวกกัน                            มีเท่าใดนาดน้อง

(ช่างซอหญิง).....

ว่าหากจะนับว่ามีสิบสอง                ก็ตามฮีดตามกองยังสมเน้อเจ้า
ว่าคุณมารดาตัดที่นั้นเล้า                             ค่าน้ำนมน้ำข้าวจะบวชเป็นทาน   
คือว่าคุณแม่นายมีสิบสอง          หัวใจเจ้ามอน
ก็จะบวชส้ายกรรมนำเวรอย่างนั้น


ฯลฯ

 

 

          ทำนองลับแลง เป็นทำนองซอที่นำมาขับซอตอนใกล้จบงานบวชนาค ช่างซอจึงขับซอเพื่อขอบคุณเจ้าภาพและลาจากเป็นสำเนียงเสียงที่ช้ากว่าทำนองดาดน่านดนตรีคลอเสียงเปลี่ยนทำนองต่อเนื่องเป็นสัญญาณบอกว่าเมื่อจบทำนองลับแลงแล้วก็เป็น การ สิ้นสุด การ ขับ ซอ เรื่อง ราว ที่ดำเนินการมาทั้งหมด
 

(ลง-คำผาย)..... 

ตะวันต่ำก้อยหย่อนลงเวหา           มูลศรัทธามากมายน้อเจ้า
ทำบุญเสร็จแล้วปี้น้องเขาเจ้า           ในวันนี้เล้ามาทำบุญทำนาน
ก็สำราญก็สาธุการ                               ก็จะขอลางานปิ๊กง้วยเมือบ้าน
ฮื้อสุขสามประการเน้อเจ้าปี้น้อง               แหล่นา ขอปงคำซอลาไปก่อนเจ้า

 

 

          การขับซอเบ็ดเตล็ด เป็นทำนองซอสั้นๆ เรียกว่า ซอก้อม ซอท่องจำ ซอปอด เป็นต้น เช่น ซอพระลอ ซอพม่า(ต๊ะโต๋งเต๋ง) ซอพม่า(เรื่องเจ้าสุวัฒน์กับนางบัวคำ) ซอปั่นฝ้าย ซอเงี้ยวและซออื่อๆ ตัวอย่าง เช่น ซอพระลอ ตอน พระลอเข้าดงป่าไม้ กล่าวถึงชื่อพันธุ์ไม้ต่างๆ ในสมัยก่อนเช่น ไม้ขะเจาะ ไม้ขะยอม ไม้ม่ะเม้า ไม้หัดตาลทราย ไม้เป้า ไม้งุ้น ไม้หมากมุ่น เป็นต้น
 

        ยอมือสิบนิ้วขึ้นตั้งหว่างกิ้ว              ก่ายเกล้าเกศา
       ฝ่าธุลีองค์พระบาทเจ้า                จะเข้าป่าไม้ไม้หยาดยางยาย
 ไม้หัดตาลทรายเป้าแดงไมงุ้้น      เอื้องไข่นกเอื้องตกโตลาย
          ว่านางบัวผันตัดเอาไม้สาว           ยามเมื่อพระลอจะออกจากบ้าน

ฯลฯ

 

 

          ตัวอย่างทำนองซอพม่า ต๊ะโต๋งเต๋งกล่าวถึงการรำพันของชายที่มีความรู้สึกต่อหญิงสาวคนรัก

   หลอนว่าต๊ะโต๋งเต๋ง              ก่อยดาฟังคนนักเลง
จะออกซอเพลงเป็นระบำพม่า           หลอนน้องเหน็บดอกข่าปี้จะ
เหน๊บดอกขิง จะขดตั๋วไหลเข้าปิง     หมายเอาคิงเอาคิงซ้อนข้าง
      หลอนมาฮักแม่ใบหน้ากว้าง              อีน้องจะเอาบ่เอา ใจอ้ายตึงเมา
กับแม่ญิงเลาๆแก้มเกลี้ยง                 หัวใจอ้ายก็ยังบ่เสี้ยงกับแม่
เนื้ออ่อนทองแดง หลอนบ่ฮักบ่แปงตั๋วอีน้อง     นิดน้อยหนึ่งเต๊อะ

ฯลฯ

 

          ตัวอย่าง ซอพม่า (เจ้าสุวัฒน์กับนางบัวคำ) เป็นเรื่องราวความรักระหว่างชายหญิงที่มีความซื่อสัตย์ต่อกัน ของนางบัวคำที่มีต่อเจ้าสุวัฒน์ แม้จะพบอุปสรรคต่างๆนานา นางก็หาวิธีช่วยเหลือสามีด้วยความจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อความรัก สุดท้ายมีเทวดามาช่วยให้พบสมุนไพรที่สามารถช่วยชีวิตเจ้าสุวัฒน์ที่ถูกโจรฆ่าตาย
 
 
         ก่อยฟังลาหมู่จุมปี้น้อง             จักไขทำนองเรื่องนางบัวคำ
ไขออกในธรรมเป็นระบำพระเจ้า            ติดต่อบทเก๊าเจ้าสุวัตน์โตยมา
อู้กันศาลาวันนั้นเมื่ออั้น                       ส่วนนางน้องจั้นไขบอกบิดา
ว่านางได้จ๋านี้ก่ยังได้อู้                       กับเจ้ากลิ่นจู้สุวัฒน์หน่อไท้

ฯลฯ

 

         ตัวอย่างซอปั่นฝ้ายซอปั่นฝ้าย เป็นซอที่กล่าวถึงวิถีชีวิตของการประกอบอาชีพชาวบ้านเกี่ยวกับการปลูกฝ้าย การหว่านฝ้าย การเก็บเกี่ยวนำมาถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม            ของ ผ่อครูคำผาย นุปิง

        ไปน้องไป(ซ้ำ)ไปเต๊อะสายใจ         ไปเก็บอีดเหียก่อน
เออ..เอ่อ...เฮอะ เอ้อ เฮอะ เออ          เออ เฮอะ เออ เฮอะ เออ..
เฮอะ เออเอ่อ เออ                   อีดฮื้อมันเป็นลอน
                  อีดฝ้ายฮื้อมันเป็นลอน                     กันว่ากินข้าวตอน อีดฝ้ายเหียก่อน
                              อีดฝ้ายสำเร็จเสร็จดี(ซ้ำ)                 ยามเมื่อหัวทีจะยิงฝ้ายเหียก่อน เออ..เอ่อ...
เฮอะ เอ้อ เฮอะ เออ เออ เฮอะ เออ ...


ฯลฯ


 

 

           ๓. นายปั่น ปัญญาภู เกิดวันที่๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๕ ที่บ้านเลขที่ ๘๗หมู่ ๕ ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีความสามารถด้านการขับซอ มีผลงานคือการขับซอในเขตพื้นที่อำเภอปัว ท่าวังผาและบริเวณใกล้เคียง ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดศิลปะการขับซอให้นักเรียนบ้านป่าลาน มีพิธีการไหว้ครู กินอ้อ ก่อนการเรียนการสอน ใช้วิธีสอนแบบการท่องจำ ให้ผู้เรียนสังเกตวิธีเล่นแล้วจดจำทำนองนำมาเลียนแบบ
 

ตัวอย่างบวชนาค ทำนองซอ

ดาดน่าน

(เกริ่น) หลอน....แมงว้าง...แมงใย... มันสอดอยู่กลางดงไพร จับกิ่งไม้...ตายคาน...น้องเฮย...วันนี้จะมาเป็นคนงามที่มาสาธุการ งานปอบปอเลี้ยง

(ไหว้ครู) ได้ยกมือไหว้สิบนิ้วยอสาร   ก่อยเคารพยอวานยอสารใส่เกล้า
ก็พระพุทธพระธรรมพระสังฆะเจ้า     อันนี้เป๋นเก๊าของศาสนา
ก็สิยนิ้วนพก่ายเกล้าเกศา                   เทวบุตรวดาอินทร์พรหมชั้นแก้ว
ขอหื้อลงมาแผวงานปอยตอนนี้

(เนื้อเรื่อง)ก่อยฟังเตอะเจ้าวันนี้แล้วหนา     ก็ปี้น้องวงศาอาวอานาดเจ้า
ปี้น้องวงศาในวันนี้เล้า                    ขอให้เจ้าก็ได้ดาฟัง
ดีดซอล่องน่านคณะผมอินปั่น        จะให้ไขระบำปี้สุดก็น้องตั้ง
แฮงไผแฮงมันเตอะเจ้าท่านไท้

 

ตัวอย่างซอปั่นฝ้าย ศิลปิน นาย ปั๋น ปัญญาภู

ปั่นฝ้าย

เออ...เอยแต่ต้นแล้วตัวหนที                      
ปี้จะเอาเพ็ญศรีฝนพร้าเหียก่อน 
เออ...เอ่อ..เอ้อ..เอิง....เอย..                เฮอะ เออ...เฮอะ เออ...
ฝนพร้าฮื้นมันดีๆปี้จะเอาเพ็ญศรี     เ ฮาจะไปฟันไฮ่ เออ...
ฝนพร้าสำเร็จเสร็จดี                        ฝนพร้าสำเร็จเสร็จดี
กันอีน้องเพ็ญศรีห่อข้าวใหญ่            มีห่อนึ่งไก่มีห่อนึ่งปลา
ปี้จะเอาใส่ซ้า จะไปกิ๋นไฮ่ เออ             ...เอ่อ..เอ้อ..เอิง....เอย..เฮอะ

เออ...เฮอะ เออ...

             

 

          ๔.นายสวิง ยะธะนะ  บ้านม่วงใหม่ กิ่งอำเภอภูเพียง เป็นศิลปินชาวบ้านที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน มีความสามารถด้านการขับซอ  นายสวิง ยาธะนะได้รับคัดเลือกเป็นบุคคลมีผลงานทางด้านวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน ปี ๒๕๔๘ เนื่องจากเป็นศิลปิน ช่างซอที่รับใช้สังคมน่านแล้วยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้และปฏิบัติ ให้นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดน่านอย่างต่อเนื่องตัวอย่างซอของนายสวิง ยาธะนะที่น่าสนใจคือซอ เสเลเมา เป็นซอที่กล่าวถึงงานบวช ตอนสอนพระนาค 

(นายสวิง).....

 
ถึงก็เติงเวลาจะยกสาวันทากราบน้อม               วันนี้วันดีตั้งใจไว้พร้อม ลาปี้ลาน้อง
จะไปบวชสงฆ์ 
โก๋นหัวนาคแล้วโก๋นกิ้ว                          มือสิบนิ้วจะไปบวชไปสงฆ์ น๊า...น้องน๋า...
จะกราบจะลา ตึงอีป้อ 
อีแม่                              ไปบวชเป็นพระไปบวชเป็นสงฆ์ 
ฮื้อได้ไหลหลงศีลธรรมพระเจ้า                            คุณบิดามารดาฮื้อจำแม่นนั้นแล้ว 
จะไปบวชโปรดพ่อโปรดแม่แลนา                       เปิ้นได้เลี้ยงลูกน้อยสูงใหญ่ขึ้นมา 
โก๋นเกศาก่อนจะลาไปบวช
 
           

           บทซอทำนองซอพม่า ได้นำเนื้อซอเรื่องราวเกี่ยวกับคติสอนใจให้นักเรียนหันมาสนใจการเรียนหนังสือ การป้องกันยาเสพติด โทษของยาม้า โทษของเหล้าตัวอย่างซอทำนองพม่า

ซอนางบัวคำ
 

ไปฮ่ำไปเรียนหนังสือว่าอั้น           ฮื้อนายน้องจั้นตั้งใจแต้หนา
ฮื้อเลิกยุกเลิกยาสุรายาแป๋ง     ไขมาแกล้งจะไปสนใจมัน
แต้หนา
ยาม้ายาอีสุราน้ำเหล้า          พ่อเจ้าแม่เจ้าสอนลูกสอนหลาน
จะไปเอามันมาเกี่ยวมาใกล้     มันตึงบ่ดีไว้ว่ากิ๋นไปทำไม


ซอปั่นฝ้าย

พ่อแม่สั่งสอนบ่ดีนอนมัวจุกมัวแจ้           อันนี้สืบเจ่นพ่อเจ่นแม่
ฟันไฮ่ใส่ฝ้ายบนดอย                              ฮื้อจำเอาไว้เตอะน้อง
ถึงแดดมันจะฮ้อนจะไปถดจะไปถอย       เฮาเป็นจาวป่าจาวดอย
อนุรักษ์ยังของม่าเก่า


 

              การประดิษฐ์เครื่องดนตรี นายสวิง ยาธะนะ ได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านประเภทปินและสะล้อ ตั้งแต่ปี๒๕๑๒ ต่อมาได้พัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่องผลงานเป็นที่ยอมรับสามารถนำไปใช้ในวงซอพื้นบ้าน ในสถานศึกษา อุปกรณ์ที่ใช้ทำสะล้อและพิณใช้อุปกรณ์ที่ทำด้วยแรงคนเป็นส่วนใหญ่ เช่น เลื่อยลันดา มีดพร้า มีดเหลา กบเหลา กระดาษทราย เครื่องขัด(เครื่องใช้ไฟฟ้าเรียกว่าลูกหมูหรือหัวหมู)สว่าน สิ่วและยางสน วัสดุที่นำมาประดิษฐ์สะล้อและพิณที่หาได้ในท้องถิ่น ได้แก่กะลามะพร้าว ไม้ไผ่ ไม้สัก หรือไม้ประดู่ลูกบิด สายพลาสติก


 
 

              ๕. นายถนอม หลวงฤทธิ์ บ้านม่วงใหม่ กิ่งอำเภอภูเพียง เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๒ ปี ๒๕๔๒ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติมีความสามารถด้านการขับซอ การรณรงค์ป้องกันยาเสพติด การป้องกันไม่ทานอาหารดิบ เป็นนักจัดรายการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดน่าน

 

              ๖. นายอรุณ ดวงมูล บ้านซาวหลวง อำเภอเมือง เป็นลูกศิษย์ป่อครูไชย  ลังกา เครือเสน มีความสามารถด้านการขับซอ การเล่นสะล้อ ดีดปิน และประดิษฐ์เครื่องดนตรีพิณและสะล้อบทบาทและสถานภาพของสะล้อซอ ปิน จังหวัดน่านอดีตการขับซอของจังหวัดน่านเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน เพราะเป็นการบ่งบอกฐานะทางสังคม หากบ้านที่มีงาน บวช งานขึ้นบ้านใหม่ ครอบครัวไหนสามารถนำคณะซอมาแสดงในงานได้ ถือว่าเป็นผู้ที่มีฐานะทางการเงินดี มีความพร้อมด้านสังคมเป็นที่ยอมรับของชุมชน เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ต้องนำมาแสดงในวันห้างดาและวันบวช ค่าใช้จ่ายเป็นเงินหลายพันบาท ต่อมาตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมีแถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ซีดี ดีวีดี นำมาใช้แทนการแสดงสด เพราะประหยัดค่าใช้และสะดวก จึงทำให้สภาพการแสดงขับซอในจังหวัดน่านลดลง การเรียนการสอนก็ลดลงไปด้วยเนื่องจากศิลปินเริ่มแก่ตัวขึ้น ไม่มีโอกาสได้แสดงบ่อย จึงหันไปประกอบอาชีพอื่นเช่นไร่ทำนาเช่นเดิมบางคนมีความสามารถด้านการเล่นดนตรีสะล้อและปินแต่ไม่สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้บางรายขับซอได้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ทำให้สถานภาพของดนตรีพื้นบ้านวงซอพื้นบ้านจางหายไปจากสังคมในชุมชน


 

'ขอขอบคุณสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน
แหล่งข้อมูลภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงของเมืองน่าน'


 

               กลองต่างๆ ของเมืองน่าน


                กลองล่องน่าน เป็นดนตรีพื้นเมืองที่อยู่ตามหมู่บ้านแถบพื้นเมืองของหมู่คนเมืองโดยเฉพาะใช้ตีในงานบุญเฉลิมฉลองและแห่ครัวทานในแถบหมู่คนเมือง เป็นกลองที่ขุดจากไม้ความยาวประมาณ ๑ วาขึ้นไป มีก้นของกลองที่เป็นโพรงหุ้มโด้ยหนังสัตว์ เช่นวัว ควาย เก้งหรือกวาง เรียงผา เป็นต้น ที่หน้ากลองใช้ตีประกอบกับเครื่องดนตรีอื่นอีกเช่น ฆ้อง ๓ - ๕ ใบ ฉาบหรือบางครั้งแยกประเภท ถ้าหากเป็นงานแห่ครัวทานใช้ฉาบตี แต่หากเป็นงานทำบุญทานสลากภัตหรืองานแข่งเรือ ใช้พับพาง (ปาน) บางหมู่บ้านมีปี่ชวา (แน)ผสมด้วยจึงเรียก กลองล่องน่าน หรือ ระบำล่องน่านอันไพเราะ เพราะพริ้งสุดจะพรรณนา

               นอกจากนี้หากมีคนทำบุญประเพณีขึ้นพระธาตุ และ ฉลองวัดก็จะมีการประกวดแข่งขันตีกลองแอว (เอว) คือใช้กลองอย่างเดียวเรียงไปหลายสิบลูกถึงร้อยลูก คัดเหลือ ๑ ลูกเท่านั้นที่ชนะด้วยเสียงและความหนักแน่นของผู้ตีและความก้องกังวานของเสียงกลองชนิดนี้ด้วย


               กลองปู่จา

               กลองปู่จา เป็นเครื่องสูงที่มีอยู่ทุกวัดภายในจังหวัดน่าน กลองปู่จาหรือกลองบูชาถูสร้างขึ้นตามความเชื่อและเป็นสัญญาณไว้ใช้ตีเมื่อจะนัดหมาย กลองบูชามีคติความเชื่อจากธรรมชาดก เรืองพุทธเสนากะหรือนางสิบสองกล่าวถึงยักที่ออกกินคนทุกๆ ๗ วัน เดือดร้อนถึงพระอินทร์และหมู่เทวดาต้องปิดปากถ้ำไม่ให้ยักษ์ที่ออกโดยพูกเรื่องเมืองยักษ์ไว้ที่หลวงพระบาง ครั้นจะครบเจ็ดวัน ชาวบ้านเกิดความกลัวยักษ์ออกอาละวาดกินคนจึงจำต้องตีกลองปู่จาเพื่อบอกให้พระอินทร์พระพรหมเทวดาได้ทราบ  อาจจะเป็นกุศโลบายบอกว่าพรุ่งนี้เป็นวันศีลอย่าลืมไปใส่บาตรทำบุญฟังธรรมก็เป็นไปได้

               กลองปู่จาจากเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมา  ยังมีอีก ๒ แบบคือมีเพื่อบอกเหตุให้รับรู้มีการตีกลองปู่จาเพื่อนัดหมายด้วยทำนองลีลามากมาย เช่น เสือขบช้าง สิกตุ๊ปี้สิก สาวน้อยเก็บผัก ม้าย่ำไฟ ล่องน่าน ล่องสา แต่ละอย่างล้วนเป็นระบำล่องน่านโดยนัยยะว่าคนน่านรักแม่น้ำน้าน ขนาดร้องรำตีกลองยังมีเพลงล่องน่านเพื่อสืบสารการตีกลองปู่จาแบ่งให้ถูกตามการอันควรตีกลอง เช่น ก่อนวันขึนวันแรม ๗ค่ำ ๘ค่ำ ๑๔ค่ำ ๑๕ค่ำ ทุกวัดจะตีกลองปู่จาเพื่อบอกให้ชาวบ้านรู้ว่าวันรุ่งขึ้นเป็นวันพระให้มาตกบาตรทำบุญที่วัด  เวลาจะประชุมเรียกผู้คนมาทำบุญกิจกรรมของวัดหรือหมู่บ้าน งานเฉลิมฉลองจะตีกลองปู่จาแบบสะบัดชัย แต่ถ้าหากเกิดเหตุร้ายไม่ขาดฝัน เช่น พระที่วัดมรณภาพ หรือเกิดเหตุร้ายต่างๆจะตีกลองปู่จาหน้าเดียวรวมกัน


               กลองห้า

               กลองห้า หรือ กลองเพล เป็นกลองสองหน้าคล้ายกล้องทัดของวงปี่พาทย์แต่ใช้ลูดเดียวแขวนอยู่ตามวัดทั่วไปในเมืองน่านในอดีตไม่มีนาฬิกาจึงใช้กลองเ้ป็นสัญญาณในการปรุกคนตื่น  พระจะใช้ตีปลุกพระเณรภายในวัดให้ลุกขึ้นมาทำกิจของสงฆ์เช่นทำวัตรสวดมนต์ เดิมมีเพียงระฆังกังสดาลเท่านั้น คนน่านอาศัยกลองห้าหรือกลองเพลกำหนดเวลาให้อาหารหมู หรือเร่งรีบประกอบกิจในการทำงานอย่างอื่น


               กลองมองเซิง
               กลองมองเซิง หรือ ฆ้องกลอง ที่ใช้ตีในงานบุญปอยลูกแก้ว งานบวชนาคและงานขบวนแห่ครัวตานฉลองวัดและงานบุญทั่วไป เป็นกลองที่มักพบทั่วไปของล้านนาแต่คงรูปแบบเดิมไว้ คือ เมืองน่านจะมีความแปลกและความภาคภูมิใจ คือฆ้องลาวคล้ายฆ้องเชิง กล่าวคือมีฆ้อง ๑ - ๙ ลูกเล็กใหญ่ตามลำดับ กลองสองหน้า ๑ ใบ ฉาบ ๑ คู่ โดยกำหนดกลองสองหน้าและฉาบเป็นตัวกำหนดตีฆ้องรับ พร้องกัน คงเหลือฆ้องใหญ่รับจังหวะในเวลาลงฉาบและกลอง
               ส่วนฆ้องลาวจะมีท่วงท่าทำนองที่รวดแร็วไปอีก ทำให้แยกไม่ออกว่าระบำกลองใดกันแน่ เพราะมีความคล้ายกันมาก


               ปาดฆ้องกลองวง
               เครืองดนตรีที่ใช้ในการตีตอนเย็ย (มะแลง) ในงานศพทั่วไปจะประกอบด้วยระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องตะโพน กลองมอญ กลองทัด ฉิ่งและฉาบ รวมถึงแน (ปี่ฉวา) โดยบรรเลงเพลงพื้นเมือง เช่น ปราสาทไหว เพลงแห่ เพลงแหย่ง เพลงพร้าวไกว่ใบ และเพลงพื้นเมืองอีกมากมาย ปัจจุบันยังนิยมเอาเครื่องดนตรี และ เครื่องเป่า คีบอร์ด มาเล่นเป็นเพลงร่วมสมัย และเพลงไทยเดิม
               แต่เสียงดนตรีที่ดังแว่วมาแต่ไกลเป็นสัญญาณให้รู้ว่าใครถึงแก่กรรม บ้านไหนในละแวกท้องถิ่นหมู่บ้านตำบลให้ทราบ และไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเรือนทานและร่วมประกอบพิธีฌาปนกิจศพแทนการ์ดที่เชื้อเชินไป เพราะคนมีเอกลักษณ์งานศพไม่ต้องเชื้อเชิญ ถ้ารู้จังและเคารพนับถือต้องไปร่วมพิธีงานศพคนตายแบบสังคมพื้นเมืองตามธรรมเนียมปฏิบัติด้วยควาภาคภูมิใจ ที่เรียกชื่องานว่า ' ส่่งสการตานคาบ '


               กลองซิ้งม้อง
               กลองซิ้งม้องเป็นกลองพื้นบ้านที่ประกอบด้วย ฆ้อง ๑ - ๒ ลูก ฉาบ ๑ คู่ ใช้ตีบรรเลงแห่ขบวนงานบุญประเพณี่างๆ เพื่อความสนุกสนานอาจปราบมือฟ้อนรำใช้ท่าตามถนัดตามสบาย ในท่าฟ้อนอิสระ เรียกว่า ' จะโล่ดอกข่า ' หรือบากครั้งใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนเจิง ตบมะผาบ โดยเฉพาะการแห่บองไฟและขบวนแห่ผ้าป่า กฐิน คณะเฒ่าแก่สู่ขอเจ้าสาว ตอนหลัง ๒๐ ปีผ่านมาก็นิยมนำเอากลองยาวจากจังหวัดทางภ่คกลางมาผสมผสาน แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมสักเท่าไหร่ คือก็ตีกันไหม่พอนานเข้าก็ทิ้งหรือชำรุดไป


 


 



           มรดกวัฒนธรรมประเพณีทางศิลปะการต่อสู้และการฟ้อนเมืองน่าน

 
                  ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของคนเมืองน่านหรือชาวไทยยวน ทั่วไปเรียกว่า เชิง หรือ เจิง ที่ชายชาวล้านนาในอดีตต้องฝึกฝนและเรียนรู้เหมือนกับผู้หญิงที่ต้องเรียนรู้การทอผ้า ในอดีต เชิง มีบทบาทในการต่อสู้เพื่อการสงครามและการป้องกันตัว ซึ่งศิลปะแขนงนี้มีความคล้ายคลึงกับศีลปะมวยไทยของภาคกลาง ปัญจศัลัจของทางภาคใต้ มวยโบราณของอีสาน เป็นต้น เชิงนั้นมีหลายประเภทดังนี้

                  ๑. เชิง หมายถึง การต่สู้ป้องกันตัวที่ใช้มือปล่าวเป็นอาวุธ
                  ๒. เชิงดาบ หมาถึง การต่สู้ป้องกันตัวที่ใช้ดาบเป็นอาวุธ

                  ๓. เชิงค้อน หมาถึง การต่สู้ป้องกันตัวที่ใช้ค้อนหรือพลองหรือหอกเป็นอาวุธ
                  แต่ในปัจจุบัน เชิงที่เป็นการต่อสู้ป้องกันตัวได้เปลี่ยนบทบาทเป็นเพียงการแสดงซึ่งในอดีต เชิง นั้นก็เป็นการแสดงเช่นเดียวกัน หากจะเน้นการต่อสู้มากกว่า ดั้งนั้นการนำเสนอของภูมิปัญญาท้องถิ้น เรื่องเชิง จะเน้นการแสดงที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ' ฟ้อนเชิง ' ฟ้อนเชิงนั้นสามารถทำได้คือ ฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ  ฟ้อนค้อนหรือพลองหรือหอก โดยมากนำเอาท่าเชิงที่เป็นการต่อสู้มาฟ้อนนั้นเอง
                  มีความเชื่อในหมู่ผู้ฝึกเจิง  ห้ามกระทำในข้อห้ามต่าง ๆ เช่นต้องไม่อวดตนประพฤติอยู่ในศีลในธรรม มิฉะนั้นจะทำให้ความรู้เสี่อมไปได้


     แม่ท่าเชิงของนครน่าน                                                           แม่ท่าเชิงดาบ
๑. ท่าตบมะผาบ                                                                 ๑. แม่ไหว้ครู
๒. แม่บิดบัวบาน                                                                 ๒. แม่ช้างชูวง
๓. แม่สารเกี้ยวเกล้า                                                           ๓. แม่ช้างงาตอก
๔. แม่กาตากปีก                                                                 ๔. แม้ช้างงาตอตวงเต้ก
๕. แม่ช้างข้ามท่ง                                                               ๕. แม่บิดบัวบาน
๖. แม่กาจับหลัก                                                                 ๖. แม่อินทร์ถือเทียน 
๗. แม่กาเต้น                                                                       ๗. แม่สี่ด้านห้อ
๘. แม่แทงบ่วง                                                                    ๘. แม่เสือลากหาง
๙. แม่ปลาเลียบหาด                                                          ๙. แม่เสือลากหางเล่นลอก
๑๐. แม่เสือลากหาง                                                            ๑๐. แม่นั่งกั้งก่าลายดาบ
๑๑. แม่กวางเหลียวหลัง                                                    ๑๑. แม่กั้งก่าลายดาบ
๑๒. แม่มะผาบเฟื้อง                                                          ๑๒. แม่สารเกี้ยวเกล้า
๑๓. แม่กาเต้น                                                                     ๑๓. แม่จีวัน
๑๔.แม่หมัดนอนแกลบ                                                       ๑๔. แม่นางเยี่ยมปล่อง
๑๕.แม่กั้งก่าลายมือ                                                           ๑๕. แม่หมอกมุงเมือง
                                                                                              ๑๖. แม่สนส้น
    ๑๗. แม่สนปลาย
    ๑๘. แม่ฟันลายสอง
    ๑๙. แม่ฟันลายสาม
    ๒๐. แม่ปลาเลียบหาด
    ๒๑. แม่สัไคล
    ๒๒. แม่กาปากรุ้ง

 

                      ฟ้อนลายงาม
                      ฟ้อนลายงาม เป็นการฟ้อนเชิงชนิดหนึ่งที่มีลีลาอ้อนช้อยเชื่องช้างดงาม ผู้ฟ้อนต้องนำท่าฟ้อนเชิงมาผสมผสานให้เกิดความกลมกลืนสวยงาม ความงามของการฟ้อนลายงามอยู่ตรงที่สายตาที่ต้องมองมือขณะฟ้อน การฟ้อนลายงามจะไม่จีบนิ้วมือแต่จะใช้ลักษณะการควักมือเข้าและผายมือออก ทั้งต้องบิดลำแขน ลำตัว และค่อยๆ ย่างก้าวไปรอบๆ ตัว หรือเดินไปข้างหน้า การฟ้อนลายงามจะใช้วงกลองชิดชิงเมืองน่านหรือวงกลองน่านตีประกอบ โดยมาจะพบเห็นผู้เฒ้าผู้แก่ทั้งหญิงและชายฟ้อนลายงามในขบวนแห่ครัวทาน งานบุญต่างๆ ของคนเมืองน่าน เช่น งานฉลองศาสนาสถาน งานสลากภัต งานกฐิน เป็นต้น โดยเฉพาะงานบุญสากภัตจะฟ้อนลายงามประกอบการตีฆ้องกลองล่องน่านบนเรือแข่งที่ล่องตามลำน้ำน่าน ซึ่งเรียกว่า 'พ้อนล้องน่าน' ซึ่งผู้ฟ้อนจะต้องเป็นชาย ใช้ท้าวข้างใดข้างหนึ่งว่างบนขอบเรือด้านใดด้านหนึ่งและฟ้อนตามจังหวะของท่วงทำนองของเสียงกลองล่องน่าน
                     ในอดีตการแม้เจ้าผู้ครองนครน่านก็ทรงฝึกฝนและทรงฟ้อนบนเรือตามงานเทศการต่างๆ เพื่อแสดงออกถึงความสนุกสนาน ความปิติยินดีในการทำบุญสุนทานครั้งนั้นๆ ด้วย และการฟ้อนลายงามล่องน่านนั้นยังเป็นต้นแบบการฟ้อนล่องน่านของผู้หญิงอีกด้วย


                      แม่ท่าฟ้อนลายงาม
๑. แม่เมฆบังวัน
๒. แม่บิดบัวบาน
๓. แม่กาตากปีก
๔. แม่ช้างข้ามท่ง
๕. แม่เกี้ยวเกล้า
๖. แม่เสือลากหาง


 
                    ฟ้อนล่องน่าน (สตรี)
                    ฟ้อนล่องน่านเป็นการฟ้อนที่เกิดขึ้นในช่วงงานบุญสลากภัต เดิมทีผู้ชายเป็นผู้ฟ้อนบนเรือแข่ง ผู้หญิงเมืองน่านเห็นว่ามีความสวยงามจึงนำมาประดิษฐ์ท่ารำโดยอาศัยแม่ท่าฟ้อนเชิงลายงามมาเป็นแบบ มี ๒ ลักษณะคือฟ้อนล้องน่านที่มีรูปขบวนที่มีการก้าวย่างและยืนฟ้อนอยู่กับที่โดยอาศัยการโยกตัวการฟ้อนล้องน่านไม่มีท่าตายตัวแล้วแต่แม่ครูผู้ฝึกสอนจะถ่ายถอด

                     ท่าฟ้อนล่องน่าน
                           ๑. ท่าไหว้
                           ๒. ท่าชมดาวชมดือน (บังวัน)
                           ๓. ท่ามวยผมแม่ธรณี
                           ๔. ท่าเปลี่ยนผ้า
                           ๕. ท่าบิดบัวบาน
                                      ฯลฯ


                   ฟ้อนหางนกยูง
                   ฟ้อนหางนกยูงเป็นฟ้อนประจำราชสำนักคุ้มหลวงประจำนครน่านในอดีตซึ่งเป็นฟ้อนนำหน้าขบวนเสด็จและเป็นการฟ้อนประกอบอิสริยศของเจ้าผู้ครองนครน่านในโอกาสเสด็จไปนมัสการพระธาตุแช่แห้ง ฯ ทั้งนี้ยังใช้ฟ้อนรับแขกบ้านแขกเมือ เดิมที่เป็นการใช้ดาบในการฟ้อน แต่ด้วยความไม่เหมาะสมและเกลงว่าจะเป็นอันตรายต่อเจ้าผู้ครองนครน่านและเจ้านายชั้นสูงจึงเปลี่ยนจากดาบเป็นหางนกยูง
                   เนืองจากการฟ้อนหางนกยูงเป็นฟ้อนประจำคุ้มหลวง ผู้ที่ไก้รับถ่ายทอดจึงเป็นคนที่อยู่ในคุ้มหลวงเท่านั้น  ดังนั้นจึงมีข้อจำกัดในการสืบทอด ผู้ที่สามารถฟ้อนได้เป็นคนสุดท้ายคือ  เจ้าน้อยบุญยก (สกุล สองเมืองแก่น)  และได้ถ้ายทอดภายในสกุลของท่าน  คุณญาณ สองเมืองแก่น (เจ้าป้อม) จึงได้สืบคนและสอบถามคนในตระกูลพบว่ามีแม่ท่าฟ้อนอยู่ ๗ ท่า ใช้วงกลองคุมหรือกลองอืดหรือกลองต๊อบส้องตีประกบการฟ้อน  การแต่งกายนั้นในอดีตสวมเสื้อราชแตน นุ่งโจงกระเบน ท่วงท่าจะยงท้าวให้สูง เรียกว่า ฟ้อนดีดก้น ว่องไวรวดเร็วแคล่วคล่องยิ่งนัก อีกภาษาหนึ่งเรียกภาษาปากว่า ' ฟ้อนนำกินนำตาน ' กล่าวคือ เป็นการฟ้อนนำหน้าขบวนแห่พระเจ้าน่านหรือผู้ครองนครน่านเสด็จไปทำบุญนมัสการพระธาตุ ในปัจจุบันหาชมได้ยากมากแม่ท่าที่ใช้ฟ้อนหางนกยูง (ชื่อแม่ท่าบางท่าปรับชื่อท่าขึ้นให้ง่ายต่อการจดจำ)


 

                        แม่ท่าฟ้อนหางนกยูง

๑. ถวายบูชาบิดบัวบาน
๒. ทำทานสารเกี้ยวเกล้า
๓. สนเค้าก่กุศล
๔. สนเข้าตากปีก
๕. ฟ้อนฟีกลายสาง
๖. สั่นหางอินทร์ทือเทียนถ่อมฟ้า
๗. ปลาเลียบหาดเหินเทียน

 

แหล่งอ้างอิงแม่ท่า

เจ้าน้อยบุญยก  สองเมืองแก่น   กวีหอคำและผู้ชวยฝ่ายวังหลวง เจ้ามหาพรหม สุรธาดา
เจ้าสำราญ  จรุงกิจประชารมย์
เจ้าแม่สุภาพ  สองเมืองแก่น
คุณ ญาณ  สองเมืองแก่น  (เจ้าป้อม)


 

             ฟ้อนเชิงสาวไหม
             ฟ้อนเชิงสาวไหมเป็นการฟ้อนสาธิตการสาวเส้นไหมจากตัวไหม หรือ เรียกภาษาถิ่นว่า ' สาวไหม ' ในอดีตหญิงเมืองน่านจะเลี้ยงตัวไหมเพื่อนำเอาเส้นใยไหมมาทอผ้า ผู้ชายน่านก็เห็นถูมิปัญญาดังกล่าวจึงนำมาประดิษฐ์ท่าร้ายรำหรือแม่ท่าให้สวยงามและผสมผสานกับความเข้มแข็ง ทั้งนี้เชิงสาวไหมยังส่งผลให้เกิดการประดิษฐ์การฟ้อนสาวไหมของผู้หญิงอีกด้วย
             อาจกล่าวได้ว่า เชิงสาวไหมนครน่านนับเป็นศิลปะการแสดงที่มีความสวยงามและเป็นหนึ่งเดียวในเขตภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน หรือ อานาจักรล้านนา ในอดีต เหตุเพราะมีแม่ท่าที่เริ่มจากการสาวไหมจากหม้อจนกระทั้งทอและส่วมใส่ครูเชิง

             แม่ท่าสาวไหมในนันทบุรีศรีนครน่าน

๑. ไหว้ครู                                         ๑๓. เฝือไหมใส่หลัก
๒. ตบมะผาบ ๗ ขุม                       ๑๔. ยกเครื่องไหมใส่หูก
๓. ลายมือช้างข้ามท่ง                   ๑๕. สืบหูก
๔. ลายมือบิดบัวบาน                     ๑๖. ต่ำหูกทอผ้า
๕. ลายมือเกลี้ยวเกล้า                   ๑๗. ตัดผ้าออกจากหูก
๖. ตบมะผาบ ๓ ขุม                        ๑๘. สะปั๊ดผ้าผ่อแยง
๗. ดึงเส้นไหม                                ๑๙. นุ่งผ้าไหม
๘. สาวไหมเดินวน                          ๒๐. ตบมะผาบออกฟ้อนลายมือ
๙. กางไหมวันตาตุ่ม                     ๒๑. ตบมะผาบ ๑๗ ขุม
๑๐. วันไหมเคียนหัว                      ๒๒. แก้ผ้าทบลงวาง
๑๑. ขว้างไหมยุ้งบนอากาศ         ๒๓. ตบมะผาบออก ๓ ขุม
๑๒. เปี๋ยไหม                                  ๒๔. ไหว้ครูปงลงวาง


 


 




            มรดกวัฒนธรรมประเพณีทางงานช่างของเมืองน่าน  (สล่าน่าน)

 

                  ช่าง (สล่า) สกุลเมืองน่านได้ด้านสายงานต่างๆ

                       ช่างทำเครื่องเงิน 
                 ประวัติความเป็นมาของการทำเครื่องเงินเมืองน่าน  เป็นอาชีพที่เกิดมาพร้อมกับการสร้างเมืองน่านขึ้นมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นครน่านได้แผ่ขยายอาณาจักรตั้งแคว้นสิบสองจุไทลงมา และได้กวาดต้อนเชลยที่เป็น ช่างเงิน ช่างทอง ช่างเหล็ก ช่างทองแดง จากเมืองฮ่อน้อย ฮ่อหลวง เมืองยอง และเชียงแสน เอามาไว้ในนครน่าน โดยช่างเงินได้จัดไว้ที่บ้านประตูปล่อง อ.เมืองน่าน และสืบเชื้อสายเป็นช่างเงินมาจนถึงทุกวันนี้ และบางส่วนมีเชื้อสายเป็นช่างเงินมาจนถึงทุกวันนี้ และบางส่วนมีเชื้อสายพม่าอยู่ได้นำศิลปะพม่าเข้ามาผสมผสาน แต่ไม่ค่อยมากนัก ส่วนใหญ่จะเข้ารับใช้ทำเครื่องเงินให้เจ้านาย บุตรหลาน คหบดีและท้าวขุน เท่านั้น พอหมดนายไป ช่างเงินก็เกือบจะไม่เหลือใครในนครน่าน จะเห็น ได้ว่าช่างเงินในเมืองน่านนั้น มีเชื้อสายจีน และได้นำเอาศิลปะของพม่ามาร่วมด้วย ในอดีตกาลที่ช่างเงินทำงานให้กับเจ้าขุนมูลนาย ทำให้เมื่อไม่มียุคเจ้านายและบ่าวไพร่แล้ว ช่างต่างๆ ก็ระหกระเหินไม่มีงานทำ บ้างก็เปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่น ส่วนที่ยังคงทำอาชีพช่าง ก็จะสืบทอดการทำเครื่องเงินให้รุ่นลูกหลานซึ่งก็มีน้อย ทำให้มีแหล่งผลิตเครื่องเงินสมัยนี้น้อยตามไปด้วย

                 ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินมี สลุงเงิน (ขันเงิน), สลอบ คือ ภาชนะรูปแบบเดียวกันกับสลุงใหญ่ แต่ปากเล็ก ใช้คู่กับคนโทดิน (น้ำต้น) ใช้ใส่ข้าวสุกไปทำบุญตักบาตร เรียกอีกอย่างว่า “ก่องข้าวบาตร”, พาน, คุหมากเงิน เป็นภาชนะที่ทำเป็นตลับใช้สำหรับบรรจุหมากพลู ยาเส้น สีเสียด เปลือกไม้ เป็นของขบเคี้ยวของคนโบราณ, ซองพลู, แอบหมาก, ต้นปูน
(เต้าเงินใช้ใส่ปูนแดงกินกันหมาก)
       มีลวดลาย ได้แก่ ลาย 12 ราศี,ลายดอกกระถิน,ลายดอกกลีบบัวหรือกาบบัว, ลายเทพพนม เป็นลายโบราณม ลายบานบุรี, ลายตาสับปะรด, ลายดอกไม้ เป็นลายที่ครูคิดใหม่ คล้ายลายไทย

                 นอกจากนี้ในจังหวัดน่านยังมี เครื่องเงินชมพูภูคา จัดเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของ จ. น่าน เป็นฝีมือชาวเขาเผ่าเมี่ยน(เย้า) และม้ง(แม้ว) ส่วนมากทำเป็นเครื่องประดับ เช่น กำไล สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู แหวน ฯลฯ ซึ่งได้ริเริ่มทำเป็นอาชีพตั้งแต่ พ.ศ.2515 แต่เนื่องจากขาดความรู้และประสบการณ์ ในด้านการค้า จึงถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางมาโดยตลอด จากนั้น ในปี พ.ศ.2538 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านหัตถกรรมฝีมือ เครื่องประดับเงิน เย็บปักประดิษฐ์และสิ่งทอ ได้รวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมในการผลิตและ การตลาดเกี่ยวกับงานด้านหัตถกรรมฝีมือ เครื่องประดับเงินและงานเย็บปักประดิษฐ์ของชาวเขา ในนาม “ศูนย์เครื่องเงินชมพูภูคาและหัตถกรรมเมืองน่าน”

                ในปัจจุบัน “ศูนย์เครื่องเงินชมพูภูคาและหัตถกรรมเมืองน่าน” เป็นสถานที่ผลิต รับซื้อและรับฝากขายสินค้างานด้านหัตถกรรมฝีมือต่างๆ จากชาวเขาและชาวบ้านทั่วทั้งจังหวัดน่าน โดยมีสมาชิกหรือช่างฝีมือ ที่รับงานของศูนย์ฯ ไปประกอบการ 50 ครอบครัว (จำนวนช่างฯ 60 คน)

                 เครื่องเงินชมพูภูคา เป็นภูมิปัญญาของชาวเขาชาวเผ่าม้ง ซึ่งเชี่ยวชาญงานเครื่องเงินมาแต่ยุคโบราณ ลายเงินที่สลักลงลายมีความเป็นเฉพาะตัว ซึ่งเมื่อครั้ง          สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนเชียงใหม่และทอดพระเนตรเครื่องเงินได้ทรงสนพระทัยและเรียกให้ช่าง เงินเข้าไปฝึกสอนช่างในศูนย์ศิลปาชีพในสวนจิตรลดา จนงานฝีมือได้รับการพัฒนาและสืบทอดมาจนถึงวันนี้



                 ช่างวาดลาย (ลายจิตกรรมฝาผนัง)
                 วัดหนองบัวเป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว ต. ป่าคา อ. ท่าวังผา จ. น่านอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านไทยลื้ออัน สงบร่มเย็น วัดแห่งนี้ เป็นอีกหนึ่งผลงานทางสถาปัตยกรรม และจิตรกรรม ชิ้นเอกของเมืองน่าน วัดหนองบัวเป็น วัดชาวบ้าน ลักษณะการตกแต่งภายในตัววิหารจึงเรียบง่ายกว่า ทั้งลักษณะวิหารก็เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าธรรมดา แต่กระนั้น วิหารวัดหนองบัว ก็เป็นอาคารที่ทรงคุณค่า ในแง่สถาปัตยกรรมพื้นบ้าน ที่สวยงาม และหาชมได้ยาก จากคำบอกเล่า กล่าวว่า วัดนี้สร้างขึ้น ในราว พ.ศ.2405(สมัยรัชกาลที่ 4) โดยท่านสุนันต๊ะ (ครูบาหลวง) เป็น หัวเรี่ยวหัวแรง นำชาวบ้าน สร้างขึ้นเป็นวัดประจำหมู่บ้านหนองบัว

 

                      สิ่งที่น่าสนใจในวัดหนองบัวภาพ คือจิตรกรรมฝาผนัง ที่ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน ในสมัย นั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหลหรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม นับว่ามี คุณค่าทางศิลปะและ ความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ในเมืองน่านเชื่อ กันว่า ภาพเขียนฝาผนังใน วัดหนองบัวแห่งนี้ เขียนขึ้นด้วยช่างสกุลเมืองน่านผู้เดียวกันกับ ผู้เขียนภาพฝาผนัง ในวัดภูมินทร์


                ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐาน ว่าเขียนโดย “ทิดบัวผัน” ช่างเขียนลาวพวนที่บิดาของครูบาหลวงสุ ชื่อนายเทพ ซึ่งเป็นทหารของเจ้าอนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่างปี พ.ศ. 2395-2434) ได้นำมาจากเมืองพวน ในแคว้นหลวงพระบาง นอกจากนั้นยังมีนายเทพ และพระแสนพิจิตรเป็นผู้ช่วยเขียนจนเสร็จ และยังมีภาพของเรือกลไฟ และดาบปลายปืนซึ่งเริ่มเข้ามาใน ประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความ เป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำ ไหลหรือผ้าซิ่นตีน จกที่สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรม ฝาผนังของวัดภูมินทร์ ใน เมืองน่าน นอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็กอยู่หลายองค์ และยังมีบุษบกสมัยล้านนาอยู่ด้วย
      


  นอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็กอยู่หลายองค์ และยังมี บุษบก สมัยล้านนาอยู่ด้วย